TKP HEADLINE

ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง บ้านบางพุทรา

“ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง บ้านบางพุทรา” เป็นแหล่งเรียนรู้ทางการเกษตรของอำเภอราชสาส์น มีการทำการเกษตรแบบผสมผสานโดยนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการทำกิจกรรมต่างโดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในเรื่องของการทำเกษตรผสมผสานโดยมีหน่วยงานหลายๆหน่วยงานเข้ามาให้ความรู้ในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการผลผลิต อ่านต่อ...

นายสรรเสริญ ภูขลัง

นายสรรเสริญ ภูขลัง เกิดเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2485 ปัจจุบัน อายุ 80 ปี อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 1 หมู่ที่ 6 บ้านหนองช้างตาย ตำบลเมืองใหม่ อำเภอราชสาส์น จังหวัดฉะเชิงเทรา อาชีพเดิม เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ สังกัดกรมไปรษณีย์ไทย อ่านต่อ...

“ปลาช่อนเค็ม” ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากปลา วิสาหกิจชุมชนบ้านหนองขอน


“ปลาช่อนเค็ม”เป็นผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นชื่อของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านหนองขอนมีการจัดตั้งกลุ่มขึ้นจากพื้นที่และบริบทของบ้านหนองขอนเป็นที่ราบลุ่ม อาชีพหลักของชุมชนบ้านหนองขอน คือการทำนา เลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้ง ปัจจุบันการเลี้ยงปลามีมากทำให้ปลาล้นตลาด ชาวบ้านวังขอนจึงพยายามหาวิธีในการแก้ปัญหาปลาล้นตลาด อ่านต่อ...

วัดสะแกงาม

วัดสะแกงาม เป็นวัดสังกัดมหานิกายอยู่ในเขตการปกครองของคณะสงฆ์ ตำบลดงน้อย อำเภอราชสาส์น จังหวัดฉะเชิงเทรา ภาค 12 วัดสะแกงาม ตั้งอยู่ที่บ้านสะแกงาม หมู่ที่ 8 ตำบลดงน้อย อำเภอราชสาส์น จังหวัดฉะเชิงเทรา อ่านต่อ...

วัดน้ำฉ่า

วัดน้ำฉ่า เป็นวัดสังกัดมหานิกายเลขที่61 หมู่ที่10 อยู่ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ตำบลดงน้อย อำเภอราชสาส์น จังหวัดฉะเชิงเทรา ภาค 12 ปัจจุบันวัดมีเนื้อที่ทั้งหมด 17 ไร่ 2 งาน 23 ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ 1552 เลขที่ดิน 301 ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2450 อ่านต่อ...

ถ้ำนางสิบสอง


ถ้ำนางสิบสอง ตั้งอยู่ติดกับวัดหินดาษ หมู่ที่ 14 บ้านหินดาษ ตำบลดงน้อย อำเภอราชสาส์น จังหหวัดฉะเชิงเทรา เป็นโบราณสถาน ที่ยังไม่ได้ ขึ้นทะเบียน อยู่ห่างจากพื้นที่เขตวัดหินดาษไม่ไกลเท่าใดนักมีบ่อศิลาแลงสี่เหลี่ยมบ่อหนึ่งชาวบ้านได้ช่วยกันก่อขอบซีเมนต์ขึ้นมาสูงซักเมตรหนึ่งน้ำในบ่อใสสะอาดใช้ดื่มได้ทั้งหมู่บ้านถ้าขาดแคลนน้ำในน้าแล้งลักษณะเหมือนบ่อศิลาแลงแถวกำแพงเพชร อ่านต่อ...

ขนมไทย มนเทวิน

นางสาวลำไย มากระเรียน เป็นภูมิปัญญา ด้านการประกอบอาชีพ เกิดวันที่ 21 สิงหาคม 2519 อายุ 45 ปี จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่อยู่ปัจจุบัน บ้านเลขที่ 16 หมู่ที่ 3 ตำบลบางคา อำเภอราชสาส์น จังหวัดฉะเชิงเทรา ปัจจุบันประกอบอาชีพทำขนมไทย โทรศัพท์. 094-9203794 อ่านต่อ...

เมล่อนเพชรรัตน์ เสน่ห์ดอนทอง

บ้านดอนทอง หมู่ที่ 5 ตำบลบางคา อำเภอราชสาส์น จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นหมู่บ้านเล็กๆ มีประชากร 166 คน มีครัวเรือน 54 ครัวเรือน ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ตามประวัติเล่ากันว่าเมื่อถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยว ข้าวจะสุกเต็มท้องนาพร้อมกัน มองดูเป็นทุ่งสีทองเหลืออร่ามสุดลูกหูลูกตา ชาวบ้านจึงพากันเรียกว่า "บ้านดอนทอง" มาจนถึงทุกวันนี้ อ่านต่อ...

ฮอลลีวูดบ้านนา ไออุ่นเตาอิฐ

ฮอลลีวูดบ้านนา ไออุ่นเตาอิฐ ตั้งอยู่บ้านเตาอิฐ หมู่ 4 ตำบลบางคา อำเภอราชสาส์น จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชน ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ตามโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ของกรมการพัฒนาชุมชน เส้นทางเชื่อมโยงหมู่บ้านท่องเที่ยว 4 หมู่บ้าน รวมระยะทางเพียง 16 กิโลเมตร อ่านต่อ...

ข้าวซ้อมมือเพชรมณี

วิสาหกิจชุมชน กลุ่มข้าวซ้อมมือเพชรมณี ถือได้ว่าเป็นข้าวสารชั้นดีจากอำเภอราชสาส์นจังหวัดฉะเชิงเทรา ชาวบ้านจากชุมชนบ้านเตาอิฐ หมู่ที่ 4 ตำบลบางคา อำเภอราชสาส์นจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมีนางมณี รักษาทรัพย์ ประธานกลุ่มข้าวซ้อมมือเพชรมณี เป็นกลุ่มที่ทำกิจกรรมเกี่ยวกับการทำนาและแปรรูปข้าว อ่านต่อ...

อโณณา ผักปลอดภัยบ้านบางคา

 

สวนอโณณา Anona Young Smart Farmers 4.0 เป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกผักปลอดภัยบ้านบางคา หมู่ที่ 3 ตำบลบางคา อำเภอราชสาส์น จังหวัดฉะเชิงเทรา ใส่ใจทุกขั้นตอน เพื่อสุขภาพที่ดีของผู้บริโภค อ่านต่อ...

ข้าวพื้นเมืองบ้านดอนทอง

ข้าวหอมมะลิ สมัยก่อนบางคนเรียกข้าวหอมมะลิว่าข้าวขาวมะลิบ้าง ข้าวดอกมะลิบ้าง พันธุ์ข้าวหอมมะลิเป็นพันธุ์ข้าวเตี้ย เมล็ดข้าวเล็ก สั้น เรียวเล็ก หอม ขาว เป็นข้าวไม่ชอบน้ำลึก ชาวบ้านเรียกข้าวไวแสง ข้าวหอมมะลิใช้ระยะเวลาปลูกประมาณ 6 เดือน เริ่มปลูกประมาณเดือนพฤษภาคม อ่านต่อ...

บ่อน้ำนางสิบสอง

 

บ่อน้ำนางสิบสอง ตั้งอยู่ติดกับวัดหินดาษ หมู่ที่ 14 บ้านหินดาษ ตำบลดงน้อย อำเภอราชสาส์น จังหหวัดฉะเชิงเทรา เป็นโบราณสถานที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน อยู่ห่างจากพื้นที่เขตวัดหินดาษไม่ไกลเท่าใดนักมีบ่อศิลาแลงสี่เหลี่ยมบ่อหนึ่ง ชาวบ้านได้ช่วยกันก่อขอบซีเมนต์ขึ้นมาสูงซักเมตรหนึ่ง น้ำในบ่อใสสะอาดใช้ดื่มได้ทั้งหมู่บ้าน ถ้าขาดแคลนน้ำ ในน้าแล้ง ลักษณะเหมือนบ่อศิลาแลงแถวกำแพงเพชร อ่านต่อ...

ห้องสมุดประชาชนอำเภอราชสาส์น

ห้องสมุดประชาชนอำเภอราชสาส์น สถานที่ตั้ง 202/1 หมู่ที่ 1 ตำบลดงน้อย อำเภอราชสาส์น จังหวัดฉะเชิงเทรา 24120 ลักษณะอาคาร เป็นคอนกรีต 1 ชั้น ชั้นล่าง ประกอบด้วยการบริการ ยืม – คืน สืบค้นข้อมูล บริการหนังสือหมวดต่าง ๆ บริการอินเทอร์เน็ต มุมเด็ก บริการสื่อ โสตทัศน์ ห้องมุมบริการแหล่งการเรียนรู้ หนังสือพิมพ์ มุมสืบค้นข้อมูล มุมแนะนำหนังสือใหม่ มุมวารสารและนิตยสาร มุมอาเซียนศึกษา อ่านต่อ...

นายอิฐ พึ่งเกษม

นายอิฐ พึ่งเกษม เกิดเมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2501 ที่บ้านเลขที่ 48 หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านซ่อง อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ที่อยู่ปัจจุบัน บ้านเลขที่ 108/204 หมู่ที่ 1 ต.พนมสารคาม อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา โทร 0 3883 8159 หรือ 08 1353 4640 ที่ทำงาน โรงเรียนบ้านหนองสองห้อง (ราษฎร์ดุษฎีศึกษา) เลขที่ 106 หมู่ที่ 13 ตำบลบ้านซ่อง อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา โทรศัพท์ 0 3851 7765 อ่านต่อ...

สถานีทองหล่อ

สถานีทองหล่อ พนมสารคาม เรียกได้ว่ามาครบจบในที่เดียวก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นสวนอาหาร พร้อมดนตรีสด. มีคาเฟ่ ที่มีเครื่องดื่มหลากหลายแนว อีกทั้งยังมีคาแคร์ ไว้บริการลูกค้าอีกด้วย สถานที่อยู่ระหว่างเส้นทางปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา บริเวณร้านตกแต่งดูเป็นธรรมชาติมากๆไครผ่านไปผ่านมาต้อง อ่านต่อ...

วัดเกาะแก้วสุวรรณาราม

วัดเกาะแก้วสุวรรณาราม เป็น วัดราษฎร์ เลขรหัสประจำวัด 2406-026494-6 ตั้งอยู่เลขที่ 5/1 หมู่ที่ 4 บ้านต้นสำโรง ตำบล บ้านซ่อง อำเภอ พนมสารคาม จังหวัด ฉะเชิงเทรา สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา อ่านต่อ...

พิพิธภัณฑ์ไทยพวน



พิพิธภัณฑ์ไทยพวน บ้านหัวกระสังข์ตั้งไม่ห่างจากถนนใหญ่ ระหว่างเส้นทางฉะเชิงเทราปราจีนบุรี หรือทางหลวงหมายเลข 319 โดยเป็นอาคารชั้นเดียวที่อยู่ภายในบริเวณของศาลเจ้าพ่อเตียงทอง ศาลหลักเมือง และศาลแม่นางไม้ อันเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านหัวกระสังข์ อ่านต่อ...

การทำนา



พื้นที่ตำบลบ้านซ่อง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอพนมสารคาม อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 319 (พนมสารคาม-ปราจีนบุรี) เป็นระยะทาง 14 กม. มีเนื้อที่ประมาณ 43,052 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การเพาะปลูก อ่านต่อ...

โบสถ์ดินโบราณ 100 ปี

โบสถ์ดินโบราณ 100 ปี วัดโคกหัวข้าว บ้านโคกหัวข้าว หมู่ที่ 3 ตำบลท่าถ่าน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา วัดนี้เดิมชื่อ "วัดหลุมข้าว" ตั้งขึ้นราวปี พ.ศ.2325 หลังเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดโคกหัวข้าว" อ่านต่อ...

ศาลหลักเมืองพนมสารคาม

เป็นศาลหลักเมืองที่ชาวอำเภอพนมสารคาม ร่วมใจกันสร้างขึ้นในสมัย สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งที่ มีนโยบาย ยกบ้านท่าซ่านเป็นเมืองพนมสารคาม ครั้งนั้นได้มีการสร้าง เรือนจำขึ้นมาด้วยและแต่งตั้ง เจ้าเมืองปกครอง เมืองพนมสารคาม จนกระทั้ง มีพระพนมสานรินทร์เป็นเจ้าเมืองคนสุดท้าย ก่อนที่จะยุบเป็นอำเภอพนมสารคาม จนถึงปัจจุบัน อ่านต่อ...

รำไทยพวนม่วนใจ

 

"ภูมิปัญญาด้าน ประเพณีวัฒนธรรม พื้นบ้าน รำไทยพวนม่วนใจ" นางสาวทุเรียน ม่วงขาว อายุ 72 ปี โทร 095-
4037392 ภูมิปัญญาด้าน ประเพณีวัฒนธรรมพื้นบ้านบ้านโคกหัวข้าว รำไทยพวนม่วนใจ 83 หมู่ที่ 3 ตำบลท่าถ่าน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา อ่านต่อ...

ก๋วยเตี๋ยวปากหม้อ



ก๋วยเตี๋ยวปากหม้อ เป็นอาหารไทยชนิดหนึ่งที่ได้รับอิทธิพลจากก๋วยเตี๋ยว ซึ่งเป็นอาหารจีนตอนใต้ แต่แตกต่างไปจากก๋วยเตี๋ยวที่อื่น ๆ คือไม่ใส่เส้น แต่จะใส่ข้าวเกรียบปากหม้อซึ่งเป็นของว่างชนิดหนึ่งของไทยลงไปแทน มีเฉพาะที่อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา อ่านต่อ...

วัดอินทาราม (วัดทด)

วัดอินทาราม ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลหนองตีนนก อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา เดิมมีชาวบ้านสองตายาย อาศัยอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลหนองตีนนก ตายายคู่นี้ไม่มีบุตรและธิดา พอถึงหน้าแล้งได้เก็บเกี่ยวพืชธัญญาหารเสร็จแล้วก็มีพระธุดงค์มาโปรดและปักกดเป็นประจำทุกปี อ่านต่อ...

กล้วยตากมะลิอ่อง

เนื่องจากป้าสมจิตร์ปลูกกล้วยไว้เป็นจำนวนมาก ตัดขายส่งเป็นเครือ เมื่อกล้วยเหลือ จึงลองนำกล้วยที่เหลือจากการขายมาทำกล้วยตาก และแจกจ่ายให้กับเพื่อนบ้านได้ชิม นำคำแนะนำจากเพื่อนบ้านมาปรับปรุง ลองผิดลองถูกหลายครั้ง จนผลตอบรับจากเพื่อนบ้านแต่บอกว่ากล้วยตากมีรสชาติดี อร่อย จึงได้ทำขาย อ่านต่อ...

ห้องสมุดประชาชนอำเภอบ้านโพธิ์



ห้องสมุดประชาชนอำเภอบ้านโพธิ์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2522 เป็นหน่วยงานในสังกัดของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งปัจจุบันห้องสมุดแห่งนี้ตั้งอยู่ ด้านข้างที่ว่าการอำเภอบ้านโพธิ์ โดยเปิดให้บริการทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30 - 17.00 น. และวันอาทิตย์ เวลา 09.00 - 16.00 น. อ่านต่อ...

วัดสนามจันทร์

วัดสนามจันทร์ริ่มสร้างเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐาน แต่สันนิษฐานว่าสร้าง เมื่อประมาณ พ.ศ. 2425 เดิมเรียกว่า " วัดสนามจั่น " ต่อมาเพี้ยเป็นวัดสนามจันทร์ เป็นเนื้อที่ไม่มโฉนดประมาณ 20 ไร่ ปัจจุบันพังลงเนื่องจากแม่น้ำบางปะกกัดเซาะ เหลือประมาณ 10 ไร่ อีกแหล่งข้อมูลระบุว่า วัดสนามจันทร์สร้างเมื่อปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา อ่านต่อ...

ประเพณีรับขบวนแห่หลวงพ่อพุทธโสธรทางน้ำ

หลวงพ่อพุทธโสธร หรือที่ชาวบ้านเรียกชื่อสั้นๆ ว่า “หลวงพ่อโสธร” เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของฉะเชิงเทรา มาช้านาน ประดิษฐานอยู่ที่วัดโสธรวรารามวรวิหาร อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา ประมาณ พ.ศ. 2313 ตรงกับสมัยต้นกรุงธนบุรี หากนับถึงปัจจุบัน พ.ศ. 2564 จะมีอายุ 251 ปี องค์หลวงพ่อโสธรจริง อ่านต่อ...

การเลี้ยงปลากะพงขาว

ปลากะพงขาวเป็นปลาน้ำกร่อยขนาดใหญ่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Lates calcarifer (Bloch) ชื่อสามัญเรียกว่า Giant Perch, Sea Bass หรือ White Sea Bass สามารถอาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำจืด น้ำกร่อยและน้ำเค็ม ปลาชนิดนี้เลี้ยงกันแพร่หลายในเขตจังหวัดชายทะเลของประเทศไทย เนื่องจากเลี้ยงง่าย โตเร็ว เนื้อมีรสชาติดีและมีราคา อ่านต่อ...

วัดประเวศวัฒนาราม

วัดประเวศวัฒนาราม (วัดใหม่ประเวศ) ตั้งอยู่เลขที่ 47 หมู่ที่ 3 บ้านคลองประเวศ ตำบลคลองประเวศ อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา สร้างวัดเมื่อปี พ.ศ. 2440 โดยมีนายเหนี่ยง ดิษสงวน ซึ่งอยู่ตำบลคลองประเวศ อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา อ่านต่อ...

สวนอาหารรุ่งทิพย์

สวนอาหารรุ่งทิพย์ มีพื้นที่กว่า 10 ไร่ ซึ่งเดิมทีเป็นพื้นที่ปลูกมะขามเทศยักษ์ ฝักใหญ่ ต่อมาได้ทำการทดลองปลูกสวนมะนาวนอกฤดู เพื่อใช้ในครัวร้านอาหาร จึงเป็นการลดต้นทุนของร้าน และยังเปิดบ้านให้เป็นศูนย์การเรียนรู้เรื่องมะนาวนอกฤดูแบบครบวงจรด้วย ในสวนอาหารรุ่งทิพย์จึงมีพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นแปลงเกษตร มีส่วนที่เป็นสระขุดขนาดใหญ่ ใกล้กับบริเวณที่เป็นสวนอาหาร เพื่อให้ได้บรรยากาศสวยงามสดชื่น นอกจากนี้ภายในสวนยังมีให้บริการที่พักอีกด้วย อ่านต่อ...

ศูนย์เรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรทฤษฎีใหม่

ประวัติแหล่งเรียนรู้ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ตำบลคลองประเวศ เกิดขึ้นจากนโยบายที่ปรารถนาจะพัฒนาพื้นที่ให้มีความน่าอยู่อย่างยั่งยืน ซึ่งความยั่งยืน จะเน้นการพัฒนาที่ไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ พัฒนาโดยอาศัยและพึ่งพทรัพยากรธรรมชาติอย่างเกื้อกูลต่อกันและทำให้เกิดความสมดุล ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาที่ตำบลคลองประเวศ ได้ยึดถือเน้นแนวทางในการพัฒนาพื้นที่มาโดยตลอด อ่านต่อ...

กระเป๋าผ้าด้นมือ

กระเป๋าผ้าด้นมือ เป็นงานเย็บผ้าและประกอบกันเข้าเป็นชิ้นงาน โดยทุกขั้นตอนของการทำล้วนใช้มือในการเย็บปัก ฉะนั้นจึงถือว่าเป็นภูมิปัญญาขั้นพื้นฐานที่ได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ เพราะในอดีตไม่มีเครื่องมือทุ่นแรงในการเย็บผ้า ซึ่งการปักผ้าด้วยมือก็มีการพัฒนามากขึ้นโดยการทำลวดลายต่างๆ นอกจากนี้การทำกระเป๋าผ้าด้นมือถือเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ อ่านต่อ...

วัดริมคลอง ที่คลองสวน

วัดคลองสวน ตั้งอยู่เลขที่ 71 หมู่ที่ 4 ตำบลเกาะไร่ อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา อยู่บนริมฝั่งเหนือคลองประเวศบุรีรมย์ สร้างวัดเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2430 ได้รับพระราชวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2484 ที่ดินตั้งวัดมีจำนวน 8 ไร่ 3 งาน 48 ตารางวา อ่านต่อ...

ตลาดโบราณ 2 แผ่นดิน คลองสวน 100 ปี

ตลาดคลองสวน 100 ปี ตั้งอยู่ริมคลองประเวศน์บุรีรมย์ ในพื้นที่ 2 จังหวัด คือ อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา และ อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ เป็นแหล่งชุมชนขนาดใหญ่ ในอดีตคลองสวนเป็นเส้นทางสำหรับเดินทางไปกรุงเทพมหานคร จากประตูน้ำท่าถั่ว (ฉะเชิงเทรา) แล่นผ่านตลาดคลองสวน ก่อนจะแล่นเข้าสู่ประตูน้ำ (วังสระปทุม) กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน อ่านต่อ...

มัสยิดยัมอี้ยตุ้ลอิสลามเกาะไร่

มัสยิดยัมอี้ยตุ้ลอิสลามเกาะไร่ ตั้งอยู่ที่บ้านเกาะไร่ หมู่ที่ 5 ตำบลเกาะไร่ อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา พื้นที่บ้านเกาะไร่มีภูมิประเทศเป็นโคกเนินมีมัสยิดอยู่กลางชุมชน การสัญจรที่วกวนเกิดจากการตั้งอาคารบ้านเรือนแบบแนวยาวเลียบริมคลอง บ้านเรือนที่ประยุกต์ให้เข้ากับวิถีชีวิตริมน้ำ มัสยิดมักตั้งอยู่กึ่งกลางริมคลอง อ่านต่อ...

ปลาบูดู อาหารจากสายน้ำ

วัฒนธรรมที่มีความสำคัญกับชาวเกาะไร่ไม่น้อยไปกว่าวัฒนธรรมการแต่งกาย และวัฒนธรรมด้านศาสนา คือ วัฒนธรรมด้านอาหาร ชาวเกาะไร่มีวัฒนธรรมอาหารที่มีเครื่องปรุงเคียงคู่กับอาหาร เพื่อเพิ่มอรรถรสในการรับประทานอาหาร ซึ่งพื้นที่ชายแดนใต้จะมี “ปลาบูดู” เป็นวัฒนธรรมวิถีชีวิตและภูมิปัญญาชาวบ้านที่สืบทอดกันมาเนิ่นนาน ถ้าหาก “ปลาร้า” คือเอกลักษณ์ของชาวอีสาน “ปลาบูดู” ก็ถือเป็นเอกลักษณ์ของชายแดนภาคใต้เฉกเช่นเดียวกัน เพราะชาวเกาะไร่ในอดีตได้ย้ายถิ่นฐานมาจากจังหวัดปัตตานีมาอยู่ที่ตำบลเกาะไร่ อ่านต่อ...

ป่าชายเลน คลองอ้อม

คลองอ้อมเป็นคลองที่ไหลผ่านพื้นที่ ตำบลบางซ่อน อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นแหล่งน้ำที่สำคัญ และแหล่งทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์มากที่สุดในพื้นที่ ชาวบ้านหวังที่จะฟื้นฟูและรักษาไว้ คลองอ้อมเป็นร่องน้ำเก่าทำให้มีดินตะกอนแม่น้ำและแร่ธาตุสะสมมาก เป็นแหล่งป่าชายเลนและป่าจากที่สมบูรณ์ พืชอีกชนิดหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่นี้คือรุ่ย หรือเรียกชื่อว่าถั่วขาวชาวบ้านนำมาประกอบอาหารได้ อ่านต่อ...

บรรจงฟาร์ม

คุณบรรจง นิสภวาณิชย์ เจ้าของบรรจงฟาร์ม เลขที่ 59 ม.3 ต.บางซ่อน อ.บ้านโพธ์ จ.ฉะเชิงเทรา 24140 ผู้ที่แม้จะยังคงยึดมั่นอยู่กับกุ้งกุลาดำ แต่ก็มีแนวทางในการพัฒนาเพาะฟักสายพันธุ์กุ้งในประเทศไทยอย่างไม่หยุดยั้งขณะนี้กำลังเคลียร์ฟาร์มเพื่อเตรียมเพาะฟักกุ้งให้หลากหลายมากขึ้น และนำสัตว์น้ำหลายๆ ชนิดเข้ามาในระบบฟาร์มด้วยทั้งปู หอย กุ้ง อ่านต่อ...

ตะกร้ามัดฟาง

กลุ่มอาชีพท้องถิ่นตำบลบางซ่อน ตะกร้าเชือกมัดฟาง ประวัติความเป็นมาเชือกมัดฟาง เป็นเชือกปอป่าน ซึ่งพื้นเพมาจากเวลาชาวนาเกี่ยวข้าวจะใช้เชือกปอป่านมัด ฟ่อนข้าว พอเหลือ ก็นำมาทำอย่างอื่นประกอบกับความรู้ทางด้านการเปลี่ยนแปลงรูปแบบจากเส้นเชือกเป็นตะกร้าใส่ของ และหลังจากการฤดูทำนาแล้วราษฎรจะมีเวลาว่าง จึงรวมตัวกันขึ้น อ่านต่อ...

การแห่หลวงพ่อพุทธโสธรทางน้ำ

หลวงพ่อพุทธโสธร หรือที่ชาวบ้านเรียกชื่อสั้นๆ ว่า “หลวงพ่อโสธร” เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของฉะเชิงเทรา มาช้านาน ประดิษฐานอยู่ที่วัดโสธรวรารามวรวิหาร อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา ประมาณ พ.ศ.2313 ตรงกับสมัยต้นกรุงธนบุรี หากนับถึงปัจจุบัน พ.ศ.2564 จะมีอายุ 251 ปี อ่านต่อ...

การทำกระปิจากกุ้งเคย

กะปิ ถูกคิดขึ้นโดยชาวประมงที่ต้องการจะดองกุ้งที่จับมาได้ เพื่อจะเอาไว้รับประทานได้ในระยะเวลานานๆ หรืออีกข้อสันนิษฐานหนึ่งกล่าวว่าเนื่องจากไม่สามารถขายกุ้งได้หมด จึงทำการดองเอาไว้ โดยไม่ว่าข้อสันนิษฐานจะเป็นอย่างไรก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงก็คือ กะปิ ถือเป็นตำรับอาหารของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งในปัจจุบันกะปิกลายมาเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมอาหาร และสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนต่างๆ มากมายจากการผลิตกะปิขาย อ่านต่อ...

น้องเดือน เสวีวัลลภ ผู้นำวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์แปรรูปสมุนไพร

นางสาวน้องเดือน เสวีวัลลภ อายุ 54 ปี ประกอบอาชีพ ค้าขาย/วิทยากร จบการศึกษาระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นภูมิปัญญาด้านการประกอบอาชีพ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์แปรรูปสมุนไพร โดยมีความรู้ ประสบการณ์ มากว่า 14 ปี ที่อยู่บ้านเลขที่ 54/3 หมู่ที่ 3ตำบลหอมศีล อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา โทรศัพท์ 086-8164047 อ่านต่อ...

พระบรมรูปสมเด็จเจ้าฟ้าอัษฏางเดชาวุธ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ

สมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมาเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ประสูติเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2432 มีพระนามลำลองว่า "เอียดเล็ก" อ่านต่อ...

ยาหม่องสมุนไพร วิสาหกิจชุมชนตำบลหอมศีล

ประชาชนในตำบลหอมศีลส่วนใหญ่มีอาชีพหลัก คือ การเลี้ยงปลา และ การเลี้ยงกุ้ง เมื่อว่างเว้นจากการทำการเลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลา ก็จะมีเวลาว่าง จึงรวมตัวกันหาทำอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้โดยมีนางสาวน้องเดือนเสวีวัลลภ ประธานกลุ่มสตรีตำบลหอมศีล เป็นผู้มีความรู้ในการทำยาหม่องสมุนไพร และถ่ายทอดองค์ความรู้ ซึ่งนางสาวน้องเดือน เสวีวัลลภ เป็นผู้มีความรู้ความสามารถและเป็นผู้ที่สามารถติดต่อประสานงานกับผู้ที่รับซื้อจำหน่ายผลิตภัณฑ์ดังกล่าวและทำแพ็กเกจที่หลากหลาย นางสาวน้องเดือน เสวีวัลลภ กล่าวว่า "การทำยาหม่องสมุนไพร" อ่านต่อ...

ผลิตภัณฑ์ประดิษฐ์จากเครื่องหนัง (กระเป๋าหนังแฟนซี)

ประชาชนในตำบลหอมศีลส่วนใหญ่มีอาชีพหลัก คือ การเลี้ยงปลา และ การเลี้ยงกุ้ง เมื่อว่างเว้นจากการทำการเลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลา ก็จะมีเวลาว่าง จึงรวมตัวกันหาทำอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ ครู กศน.ตำบลหอมศีล ได้มีส่วนร่วมในการประชาคมหมู่บ้านและได้สำรวจความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย พบว่าประชาชนมีความต้องการเรียนรู้ เรื่องการทำกระเป๋าหนัง ซึ่งทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีความหลากหลาย อ่านต่อ...

ประเพณี แห่เทียนเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่งที่พระสงค์เถรวาทจะอธิฐานว่า จะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกติกปากกันโดยทั่วไปว่า จำพรรษา ซึ่งถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระสงค์โดยตรง ละเว้นไม่ได้ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม อ่านต่อ...

ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย TKP

 
Copyright © 2018 ศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาชนจังหวัดฉะเชิงเทรา. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand